Why do you need to chew gum after getting Botox injections?
เคยสังเกตกันไหมคะว่าหลังฉีดโบท็อกลดกรามเสร็จเราจะได้รับหมากฝรั่งมาให้เคี้ยว แล้วมีใครสงสัยไหมว่าทำไมต้องทำด้วย? ทั้ง ๆ ที่บางคนอาจเคยเห็นหรืออ่านผ่าน ๆ มาว่าไม่ควรขยับอวัยวะในบริเวณจุดที่เพิ่งฉีดโบท็อกบ่อยเกินไป เพราะอาจทำให้ตัวยาที่ฉีดกระจายไปทั่ว กล้ามเนื้อคืนตัวเร็วกว่าปกติ หรือไม่เห็นผล หน้าไม่เรียวลง เป็นต้น ซึ่งจริง ๆ แล้ว การเคี้ยวหมากฝรั่งในช่วง 5-10 นาทีแรกหลังฉีดโบท็อกลดกราม เป็นหนึ่งในวิธีบริหารกล้ามเนื้อบริเวณกรามทั้งสองข้าง ทึ่มีส่วนช่วยให้ตัวยาโบท็อกถูกดูดซึมได้ดี รวมถึงเริ่มออกฤทธิ์ได้ไวขึ้น แต่สำหรับการฉีดโบท็อกบริเวณอื่น อย่างโบท็อกลดริ้วรอย ที่แพทย์จะทำการฉีดให้ตามหน้าผาก หางตา และระหว่างคิ้ว ก็ให้ใช้วิธีบริหารกล้ามเนื้อโดยการขยับใบหน้าส่วนนั้นแทน ไม่ว่าจะเป็นการเลิกหน้าผาก ยิ้มตาหยี หรือขมวดคิ้ว Q&A ฉีดโบท็อกลดกราม Q: แล้วถ้าหลังฉีดโบท็อกลดกราม ไม่ได้เคี้ยวหมากฝรั่ง จะเป็นอะไรไหม? A: หากตอนนั้นเราไม่มีหมากฝรั่ง ในช่วง 5-10 นาทีแรกหลังจากเพิ่งฉีดโบเสร็จ ก็สามารถบริหารกล้ามเนื้อกรามด้วยตัวเอง โดยให้ขยับกรามไปมา หรือทำท่าเหมือนกำลังเคี้ยวข้าวแทนได้เช่นกัน แต่ถ้าลืมทำทั้งสองอย่างก็ไม่ได้มีผลอะไรมาก เพียงแค่โบท็อกจะใช้เวลาในกระจายตัวนานขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น Q: หลังฉีดโบท็อกลดกราม จะเริ่มเห็นผลจนเต็มที่ภายในกี่สัปดาห์ A: ตัวยาโบท็อกใช้เวลาในการออกฤทธิ์จนเต็มที่ภายในช่วง 2-4 สัปดาห์ เราจะเริ่มสังเกตได้ถึงขนาดของใบหน้าที่เรียวเล็กลง เนื้อกรามที่เมื่อก่อนเคยแน่น […]
Botox VS Heat
การโดนแดดหรือโดนอะไรร้อน ๆ ทำให้โบท็อกสลายเร็วขึ้นจริงไหม? มากแค่ไหน? มีข้อห้ามหลายอย่างที่หลายคนพอจะเคยเห็นกันมาเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงความร้อนหลังฉีดโบท็อก แต่ในชีวิตจริงเราอาจไม่จำเป็นต้องกังวลกับเรื่องมากนัก วันนี้หมอจะมาอธิบายว่าทำไมถึงเป็น อย่างนั้นค่ะพวกเรามักกังวลว่าหลังฉีดโบท็อกแล้ว จะต้องหลีกเลี่ยงความร้อนต่าง ๆ จากการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น การออกแดด การใช้ไดร์เป่าผม การอาบน้ำอุ่น แม้กระทั่งการประกอบอาการหรือทานอาหารหน้าเตา อย่างปิ้งย่าง หมูกระทะ หรือชาบู ที่ใบหน้าต้องโดนความร้อนจากควันและไอน้ำอยู่ตลอดเวลา กิจกรรมเหล่านี้อาจทำให้รู้สึกร้อนขึ้นก็จริง แต่ก็ยังมีอุณหภูมิไม่สูงพอที่จะส่งผลต่อการสลายของตัวยาโบท็อก เพราะจริง ๆ แล้วต้องเป็นความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงถึง 60 องศาเซลเซียส ขึ้นไป ซึ่งมักพบได้ในกิจกรรมที่ต้องใช้ความร้อนสูงเป็นพิเศษ เช่น การอบไอน้ำ อบซาวน่า และการทำหัตถการประเภทเลเซอร์ โดยถ้าใครที่เพิ่งฉีดโบมาได้ไม่นานแล้วไปทำกิจกรรมดังกล่าวบ่อย ๆ หลาย ๆ ครั้ง ก็มีโอกาสเป็นไปได้ที่โบท็อกจะสลายตัวเร็วขึ้นกว่าปกติ และเห็นผลลัพธ์หลังฉีดโบได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นในการใช้ชีวิตประจำวัน ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องความร้อนในระดับทั่วไปมากขนาดนั้น ทั้งการออกแดด การทำอาหารที่ต้องเจอไอร้อน การอาบน้ำอุ่น หรือการใช้ไดร์เป่าผม เพราะแต่ละอย่างนั้นไม่ได้ร้อนมากจนส่งผลต่อการทำงานของโบท็อกที่ฉีดไปแต่อย่างใดค่ะ แล้วจะเริ่มทำเลเซอร์ อบซาวน่า อบไอน้ำ หลังฉีดโบได้เมื่อไหร่? ถ้าจะให้ดี ควรทิ้งระยะห่างหลังฉีดโบไปประมาณ 1 สัปดาห์ […]
Enjoying BBQ After Botox Injections
ถ้าพวกเรากำลังหาคำตอบกันอยู่ว่า หลังฉีดโบ ห้ามทำอะไร หลายคนน่าจะนึกถึงการทำกิจกรรมที่ใบหน้าต้องเข้าใกล้ความร้อนอย่างการกินปิ้งย่าง กินชาบู หรือทำอาหารหน้าเตาแก๊ส ว่าเอ๊ะ… ทั้งหมดนี้ยังทำได้อยู่หรือเปล่าหากเพิ่งฉีดโบท็อก มาเนื่องจากเป็นที่รู้กันว่า ความร้อน คือปัจจัยที่หลักที่เป็นเหตุทำให้ตัวยาโบท็อกที่เพิ่งถูกฉีดเข้าไปสลายตัวไวกว่าเดิม แต่หมอขอให้คำตอบแบบเร็ว ๆ เลยก็แล้วกันค่ะว่าพวกเรายังคงกินปิ้งย่างชาบู ทำกับข้าว ได้ตามปกติ เพราะความร้อนจากกิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้มีอุณหภูมิสูงมากพอที่จะผ่านเข้าชั้นผิวหนังของเราไปถึงบริเวณที่ฉีดโบท็อกนั่นเองตัวยาโบท็อกจะสลายตัวก็ต่อเมื่อต้องเจอกับความร้อนที่อุณหภูมิสูงเกิน 60 องศาเซลเซียส ขึ้นไปเท่านั้น Q&A คำถามที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับโบท็อก Q: แล้วหลังฉีดโบห้ามทำอะไรอีก ที่ใบหน้าอาจต้องเจอกับความร้อนเกิน 60°C? A: จะยังมีกิจกรรมอย่างการอบซาวน่า อบไอน้ำ และทำหัตถการประเภทยิงเลเซอร์บนผิวหน้า ที่ทำให้ใบหน้าของเราสะสมความร้อนไว้ในชั้นผิว ซึ่งนั่นอาจส่งผลกระทบต่อการออกฤทธิ์ของตัวยาโบท็อกที่เพิ่งฉีดเข้าไป Q: ต้องรอนานไหม ถึงจะกลับไปเข้าซาวน่าหรือทำเลเซอร์ได้? A: สามารถกลับไปทำได้ตามปกติ หลังฉีดโบท็อกประมาณ 1 สัปดาห์ เนื่องจากตัวยาเริ่มกระจายตัวและออกฤทธิ์กับมัดกล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีดแล้ว Q: แล้วถ้าต้องยืนตากแดดนาน ๆ จนรู้สึกร้อนที่ใบหน้า จะมีผลทำให้โบท็อกสลายไวไหม? A: อันที่จริงความร้อนจากแดดโดยเฉพาะในประเทศไทย ปัจจุบันนั้นจะร้อนสุดในช่วงอุณหภูมิ 45°C ซึ่งก็ยังไม่ใช้ความร้อนที่มีผลต่อโบท็อก แต่แน่นอนว่ามีผลกระทบต่อผิวหนัง ทั้งอาการแสบร้อนไหม้แดด ผิวคล้ำเสีย เป็นต้น […]